พิธีกรรม
ประเพณีความเชื่อซึ่งประชาชนทั้งหลายนับถือเรื่องรามเกียรติ์ว่าเป็นเรื่องศักดิ์สิทธเนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเทพเจ้า โดยเฉพาะพระนารายณ์ เมื่อมีการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ จึงมีพิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับการแสดงโขน
และหัวโขนที่สวมใส่ปรากฎสืบมาจนกลายเป็นระเบียบแบบแผนที่ลงตัวสืบมาจนถึงปัจจุบัน
พิธีไหว้ครูช่างหัวโขน
หัวโขน ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญในการแสดงโขน เพราะเป็นสิ่งบอกให้รู้ว่าผู้นั้นแสดงเป็นตัวอะไรในเรื่องรามเกียรติ์ ช่างแต่โบราณจึงได้คิดประดิษฐ์หัวโขนขึ้นเพื่อให้ผู้แสดงโขนสวมใส่และงานประดิษฐ์หัวโขนนับถือเป็นศิลปะแขนงหนึ่งในงานช่าง๑๐ หมู่ ผู้ที่เป็นช่างทำหัวโขนจึงจะต้องผ่านพิธีไหว้ครูและการครอบครูมาก่อน เมื่อประสงค์จะปั้นหน้าครูที่สำคัญ เช่น พระภรตฤาษี พระพิราพ พระคเณศ เป็นต้น แม้จะเป็นผู้ที่มีฝีมือและมีความชำนาญมากเพียงใดก็ตาม ก็จะต้องได้รับการมอบหมายจากครูที่เป็นช่างทำหัวโขน พร้อมทั้งพิธีไหว้ครูโขน-ละครประจำปีก็ได้ตามแต่จะสะดวกหรือโอกาสอำนวยในการไหว้ครูช่างทำหัวโขนจะทำในวันพฤหัสบดีซึ่งถือเป็นวันครูโดยในตอนเช้าจะมีพิธีสงฆ์หรือครูกับศิษฐ์ร่วมกันทำบุญตักบาตรเพื่อุทิศส่วนกุศลให้แก่ครูผู้ล่วงลับไปแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น