วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

หัวโขน


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หัวโขน



หัวโขนเป็นเครื่องสวมศีรษะประเภทหนึ่งสำหรับนักเล่นหรือผู้แสดงมหรสพอย่างหนึ่งที่เรียกว่า "โขน" ใช้สวมใส่ในการแสดงแต่ละคราว หัวโขนนี้นอกจากจะใช้สวมศีรษะหรือปิดบังหน้าผู้แสดงโขนแล้ว หัวโขนยังเป็นศิลปวัตถุประเภทประณีตศิลป์ เป็นงานศิลปะที่ได้รับการสร้างขึ้นอย่างวิจิตรประณีต ด้วยกระบวนการช่างแบบไทยประเพณีที่แสดงออกให้ประจักษ์ในภูมิปัญญาและเอกลักษณ์ในงานศิลปะแบบไทยประเพณีประเภทหนึ่ง หัวโขนจึงเป็นศิลปวัตถุ ที่มีรูปลักษณะควรแก่การดูชม และเก็บรักษาไว้เพื่อการชื่นชมในรูปสมบัติและคุณสมบัติในฐานะศิลปกรรมไทยประเพณี
วิธีการและกระบวนการทำหัวโขน โดยวิธีกาอันเป็นไปตามระเบียบวิธีแห่งการช่างทำหัวโขนตามขนบนิยมอันมีมาแต่ก่อน และยังคงถือปฎิบัติการทำหัวโขนของช่างหัวโขนบางคนต่มาจนกระทั่งปัจจุบัน อาจลำดับระเบียบวิธีของวิธีการและกระบวนการทำหัวโขน ให้ทราบดังนี้
วัสดุ:
กระดาษสา กระดาษข่อย กระดาษฟาง โดยใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง
รักน้ำเกลี้ยง และรักตีลาย
สมุกใบตองแห้ง สมุกใบลาน สมุกถ่านกะลา สมุกใบจาก โดยใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง น้ำมันยาง ปูนแดง ชันผง ทองคำเปลว กระจกสี พลอยกระจก หนังวัวแห้ง สีฝุ่น กาว และแป้งเปียก ยางมะเดื่อ ลวดขนาดต่าง ๆ

ครื่องมือ:
แม่พิมพ์หินสบู่ ไม้ตีกระยัง ไม้เสนียด ไม้คลึงรัก มีดตัดกระดาษ เพชรตัดกระจก ไม้ตับคีบกระจก กรรไกร เข็มเย็บผ้า และด้าย สิ่วหน้าต่าง ๆ และตุ๊ดตู่ เขียงไม้ แปรงทาสี พู่กันขนาดต่าง ๆ 
การเตรียมวัสดุ : 
วัสดุที่จะต้องจัดเตรียมขึ้นโดยเฉพาะสำหรับทำเป็นลวดลายต่าง ๆ ประดับตกแต่งหัวโขนแต่ละแบบ ๆ คือ "รักตีลาย" ซึ่งต้องเตรียมทำขึ้นไว้ใช้ให้พอแก่งานเสียก่อน รักตีลาย ประกอบด้วย รักน้ำเกลี้ยง ชัน น้ำมันยาง ผสมเข้าด้วยกัน เอาขึ้นตั้งไฟอ่อน ๆ เคี่ยวไปจนงวดเหนียวพอเหมาะแก่การเอาลงกดในแม่พิมพ์หินทำเป็นลวดลาย เช่น กระจัง เป็นต้น ซึ่งแข็งตัวแล้วไม่เปลี่ยนแปลง รักตีลายนี้เมื่อเคี่ยวได้ที่แล้วเอามาปั้นเป็นแท่งกลมยาวประมาณคืบ๑ ใช้ปูนแดงผสมน้ำทาหุ้มให้ทั่ว ห่อด้วยใบตองให้มิดเก็บไว้ใช้สำรองต่อไป

การเตรียมหุ่น
หุ่นในที่นี้คือ "หุ่นหัวโขน" แบบต่าง ๆ ซึ่งจะใช้เป็นต้นแบบสำหรับทำหัวโขน มีดังต่อไปนี้
หุ่นพระ-นาง อย่างปิดหน้า
หุ่นยักษ์โล้น
หุ่นยักษ์ยอด
หุ่นลิงโล้น
หุ่นลิงยอด
หุ่นชฏา-มงกุฎ
หุ่นเบ็ดเตล็ด
 เช่น หุ่นศีรษะฤาษี หุ่นศีรษะพระคเณศ เป็นต้น
หุ่นต้นแบบ ที่จะได้ใช้กระดาษปิดทับให้ทั่วแล้วถอดออกเป็น "หัวโขน" ซึ่งภายในกลวง เพื่อที่จะใช้สวมศีรษะผู้แสดง หุ่นต้นแบบนี้แต่เดิมทำด้วยดินปั้นเผาไฟให้สุก
หุ่นหัวโขนชนิดสวมศีรษะและปิดหน้ามักทำเป็นหุ่นอย่าง "รูปโกลน" มีเค้ารอย ตา จมูก ขมวดผม เป็นต้น แต่พอเป็นเค้า ๆ ไม่ต้องชัดเจนมากนัก ส่วนในหูนั้นละเอาไว้ยังไม่ต้องทำ เอาไว้ต่อเติมภายหลัง
หุ่นหัวชฎา-มงกุฎ ทำเป็นรูปทรงกระบอก ส่วนบนกลึงรัดเป็นชั้น ๆ ขึ้นไปเป็นจอมแล้วละไว้ตรงส่วนเหนือบัวแวง ซึ่งเป็นที่สวมยอดแบบต่าง ๆ เช่น ยอดชัย ยอดบัด ยอดทรงน้ำเต้า เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

พิธีกรรม

พิธีกรรม

ประเพณีความเชื่อซึ่งประชาชนทั้งหลายนับถือเรื่องรามเกียรติ์ว่าเป็นเรื่องศักดิ์สิทธเนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเทพเจ้า โดยเฉพาะพระนารายณ์ เมื่อมีการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ จึงมีพิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับการแสดงโขน
และหัวโขนที่สวมใส่ปรากฎสืบมาจนกลายเป็นระเบียบแบบแผนที่ลงตัวสืบมาจนถึงปัจจุบันพิธีไหว้ครูช่างหัวโขนหัวโขน ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญในการแสดงโขน เพราะเป็นสิ่งบอกให้รู้ว่าผู้นั้นแสดงเป็นตัวอะไรในเรื่องรามเกียรติ์ ช่างแต่โบราณจึงได้คิดประดิษฐ์หัวโขนขึ้นเพื่อให้ผู้แสดงโขนสวมใส่และงานประดิษฐ์หัวโขนนับถือเป็นศิลปะแขนงหนึ่งในงานช่าง๑๐ หมู่ ผู้ที่เป็นช่างทำหัวโขนจึงจะต้องผ่านพิธีไหว้ครูและการครอบครูมาก่อน เมื่อประสงค์จะปั้นหน้าครูที่สำคัญ เช่น พระภรตฤาษี พระพิราพ พระคเณศ เป็นต้น แม้จะเป็นผู้ที่มีฝีมือและมีความชำนาญมากเพียงใดก็ตาม ก็จะต้องได้รับการมอบหมายจากครูที่เป็นช่างทำหัวโขน พร้อมทั้งพิธีไหว้ครูโขน-ละครประจำปีก็ได้ตามแต่จะสะดวกหรือโอกาสอำนวยในการไหว้ครูช่างทำหัวโขนจะทำในวันพฤหัสบดีซึ่งถือเป็นวันครูโดยในตอนเช้าจะมีพิธีสงฆ์หรือครูกับศิษฐ์ร่วมกันทำบุญตักบาตรเพื่อุทิศส่วนกุศลให้แก่ครูผู้ล่วงลับไปแล้ว




พิธีกรรม

พิธีกรรม

ประเพณีความเชื่อซึ่งประชาชนทั้งหลายนับถือเรื่องรามเกียรติ์ว่าเป็นเรื่องศักดิ์สิทธเนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเทพเจ้า โดยเฉพาะพระนารายณ์ เมื่อมีการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ จึงมีพิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับการแสดงโขน
และหัวโขนที่สวมใส่ปรากฎสืบมาจนกลายเป็นระเบียบแบบแผนที่ลงตัวสืบมาจนถึงปัจจุบันพิธีไหว้ครูช่างหัวโขนหัวโขน ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญในการแสดงโขน เพราะเป็นสิ่งบอกให้รู้ว่าผู้นั้นแสดงเป็นตัวอะไรในเรื่องรามเกียรติ์ ช่างแต่โบราณจึงได้คิดประดิษฐ์หัวโขนขึ้นเพื่อให้ผู้แสดงโขนสวมใส่และงานประดิษฐ์หัวโขนนับถือเป็นศิลปะแขนงหนึ่งในงานช่าง๑๐ หมู่ ผู้ที่เป็นช่างทำหัวโขนจึงจะต้องผ่านพิธีไหว้ครูและการครอบครูมาก่อน เมื่อประสงค์จะปั้นหน้าครูที่สำคัญ เช่น พระภรตฤาษี พระพิราพ พระคเณศ เป็นต้น แม้จะเป็นผู้ที่มีฝีมือและมีความชำนาญมากเพียงใดก็ตาม ก็จะต้องได้รับการมอบหมายจากครูที่เป็นช่างทำหัวโขน พร้อมทั้งพิธีไหว้ครูโขน-ละครประจำปีก็ได้ตามแต่จะสะดวกหรือโอกาสอำนวยในการไหว้ครูช่างทำหัวโขนจะทำในวันพฤหัสบดีซึ่งถือเป็นวันครูโดยในตอนเช้าจะมีพิธีสงฆ์หรือครูกับศิษฐ์ร่วมกันทำบุญตักบาตรเพื่อุทิศส่วนกุศลให้แก่ครูผู้ล่วงลับไปแล้ว




พิธีกรรม

พิธีกรรม

ประเพณีความเชื่อซึ่งประชาชนทั้งหลายนับถือเรื่องรามเกียรติ์ว่าเป็นเรื่องศักดิ์สิทธเนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเทพเจ้า โดยเฉพาะพระนารายณ์ เมื่อมีการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ จึงมีพิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับการแสดงโขน
และหัวโขนที่สวมใส่ปรากฎสืบมาจนกลายเป็นระเบียบแบบแผนที่ลงตัวสืบมาจนถึงปัจจุบัน
พิธีไหว้ครูช่างหัวโขน

หัวโขน ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญในการแสดงโขน เพราะเป็นสิ่งบอกให้รู้ว่าผู้นั้นแสดงเป็นตัวอะไรในเรื่องรามเกียรติ์ ช่างแต่โบราณจึงได้คิดประดิษฐ์หัวโขนขึ้นเพื่อให้ผู้แสดงโขนสวมใส่และงานประดิษฐ์หัวโขนนับถือเป็นศิลปะแขนงหนึ่งในงานช่าง๑๐ หมู่ ผู้ที่เป็นช่างทำหัวโขนจึงจะต้องผ่านพิธีไหว้ครูและการครอบครูมาก่อน เมื่อประสงค์จะปั้นหน้าครูที่สำคัญ เช่น พระภรตฤาษี พระพิราพ พระคเณศ เป็นต้น แม้จะเป็นผู้ที่มีฝีมือและมีความชำนาญมากเพียงใดก็ตาม ก็จะต้องได้รับการมอบหมายจากครูที่เป็นช่างทำหัวโขน พร้อมทั้งพิธีไหว้ครูโขน-ละครประจำปีก็ได้ตามแต่จะสะดวกหรือโอกาสอำนวยในการไหว้ครูช่างทำหัวโขนจะทำในวันพฤหัสบดีซึ่งถือเป็นวันครูโดยในตอนเช้าจะมีพิธีสงฆ์หรือครูกับศิษฐ์ร่วมกันทำบุญตักบาตรเพื่อุทิศส่วนกุศลให้แก่ครูผู้ล่วงลับไปแล้ว