วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ประเภทของโขนแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ
๑ โขนกลางแปลง
๒  โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว
๓  โขนหน้าจอ
๔  โขนโรงใน
๕  โขนฉาก
๑. โขนกลางแปลง คือ การเล่นโขนบนพื้นดิน ณ กลางสนาม ไม่ต้องสร้างโรงให้เล่น นิยมแสดงตอนยกทัพรบกัน โขนกลางแปลงได้วิวัฒนาการมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ เรื่องกวนน้ำอมฤต เรื่องมีอยู่ว่า เทวดาและอสูรใคร่จะเป็นอมตะ จึงไปทูลพระนารายณ์ พระนารายณ์จึงแนะนำให้กวนน้ำอมฤต โดยใช้เขามนทคิรีเป็นไม้กวน เอาพระยาวาสุกรีเป็นเชือกพันรอบเขา เทวดาชักทางหาง หมุนเขาไปมา พระยาวาสุกรีพ่นพิษออกมา  พระนารายณ์เชิญให้ พระอิศวรดื่มพิษนั้นเสีย พระอิศวรจึงมีศอสีนิลเพราะพิษไหม้  ครั้นกวนต่อไป เขามนทคิรีทะลุลงไปใต้โลก พระนารายณ์จึงอวตารเป็นเต่าไปรองรับเขามนทคิรีไว้  ครั้นได้น้ำอมฤตแล้ว เทวดาและอสูรแย่งชิงน้ำอมฤตกันจนเกิดสงคราม พระนารายณ์จึงนำน้ำอมฤตไปเสีย พวกอสูรไม่ได้ดื่มน้ำอมฤตก็ตายในที่รบเป็นอันมาก เทวดาจึงเป็นใหญ่ในสวรรค์  พระ นารายณ์เมื่อได้น้ำอมฤตไปแล้ว ก็แบ่งน้ำอมฤตให้เทวดาและอสูรดื่ม พระนารายณ์แปลงเป็นนางงามรินน้ำอมฤตให้เทวดา แต่รินน้ำธรรมดาให้อสูร  ฝ่ายราหูเป็นพี่น้องกับพระอาทิตย์และพระจันทร์แต่ราหูเป็อสูร  ราหู เห็นเทวดาสดชื่นแข็งแรงเมื่อได้ดื่มน้ำอมฤต แต่อสูรยังคงอ่อนเพลียอยู่ เห็นผิดสังเกต จึงแปลงเป็นเทวดาไปปะปนอยู่ในหมู่เทวดา จึงพลอยได้ดื่มน้ำอมฤตด้วย  พระอาทิตย์และพระจันทร์ จึงแอบบอกพระนารายณ์ พระนารายณ์โกรธมากที่ราหูตบตาพระองค์ จึงขว้างจักรไปตัดกลางตัวราหู ร่างกายท่อนบนได้รับน้ำอมฤตก็เป็นอมตะ แต่ร่างกายท่อนล่างตายไป  ราหูจึงเป็นยักษ์มีกายครึ่งท่อน  ราหูโกรธและอาฆาตพระอาทิตย์และพระจันทร์มาก พบที่ไหนก็อมทันที  เกิดเป็นราหูอมจันทร์หรือจันทรคราสและสุริยคราส  ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้ามาเทศนาให้ราหูเลิกพยาบาทจองเวร ราหูจึงได้คลายพระอาทิตย์หรือพระจันทร์ออก
        การเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ เล่นในพิธีอินทราภิเษก มีปรากฏในกฎมณเฑียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยา  โขนกลาง แปลงนำวิธีการแสดงคือการจัดกระบวนทัพ การเต้นประกอบหน้าพาทย์ มาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ แต่เปลี่ยนมาเล่นเรื่องรามเกียรติ์ และเล่นตอนฝ่ายยักษ์และฝ่ายพระรามยกทัพรบกัน  จึงมีการเต้นประกอบหน้าพาทย์ และอาจมีบทพาทย์และเจรจาบ้างแต่ไม่มีบทร้อง
๒ โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว  เป็นการแสดงบนโรงมีหลังคา ไม่มีเตียงสำหรับตัวโขนนั่ง แต่มีราวพาดตามส่วนยาวของโรงตรงหน้าฉาก (ม่าน)  มีช่องทางให้ผู้แสดงเดินได้รอบราวแทนเตียง มีการพากย์และเจรจา แต่ไม่มีการร้อง  ปี่พาทย์บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ มีปี่พาทย์ ๒ วง เพราะต้องบรรเลงมาก ตั้งหัวโรงท้ายโรง จึงเรียกว่าวงหัวและวงท้าย หรือวงซ้ายและวงขวา  วันก่อนแสดงโขนนั่งราวจะมีการโหมโรง และให้พวกโขนออกมากระทุ้งเส้าตามจังหวะเพลง  พอ จบโหมโรงก็แสดงตอนพิราพออกเที่ยวป่า จับสัตว์กินเป็นอาหาร พระรามหลงเข้าสวนพวาทองของพราพ แล้วก็หยุดแสดง พักนอนค้างคืนที่โรงโขน รุ่งขึ้นจึงแสดงตามเรื่องที่เตรียมไว้ จึงเรียกว่า "โขนนอนโรง"
๓  โขนหน้าจอ  คือ โขนที่เล่นตรงหน้าจอ ซึ่งเดิมเขาขึงไว้สำหรับเล่นหนังใหญ่  ในการเล่นหนังใหญ่นั้น มีการเชิดหนังใหญ่อยู่หน้าจอผ้าขาว  การแสดงหนังใหญ่มีศิลปะสำคัญ คือการพากย์และเจรจา มีดนตรีปี่พาทย์ประกอบการแสดง  ผู้เชิดตัวหนังต้อง เต้นตามลีลาและจังหวะดนตรี นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ต่อมามีการปล่อยตัวแสดงออกมาแสดงหนังจอ แทนการเชิดหนังในบางตอน เรียกว่า "หนังติดตัวโขน" มีผู้นิยมมากขึ้น เลยปล่อยตัวโขนออกมาแสดงหน้าจอตลอด ไม่มีการเชิดหนังเลย จึงกลายเป็นโขนหน้าจอ และต้องแขวะจอเป็นประตูออก ๒ ข้าง เรียกว่า "จอแขวะ"
๔  โขนโรงใน  คือ โขนที่นำศิลปะของละครในเข้ามาผสม  โขนโรงในมีปี่พาทย์บรรเลง ๒ วงผลัดกัน  การ แสดงก็มีทั้งออกท่ารำเต้น ทีพากย์และเจรจาตามแบบโขน กับนำเพลงขับร้องและเพลงประกอบกิริยาอาการ ของดนตรีแบบละครใน และมีการนำระบำรำฟ้อนผสมเข้าด้วย เป็นการปรับปรุงให้วิวัฒนาการขึ้นอีก การผสมผสานระหว่างโขนกับละครในสมัยรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒  ทั้งมีราชกวีภายในราชสำนักช่วยปรับปรุงขัดเกลา และประพันธ์บทพากย์บทเจรจาให้ไพเราะสละสลวยขึ้นอีก
        โขนที่กรมศิลปากรนำออกแสดงในปัจจุบันนี้ ก็ใช้ศิลปะการแสดงแบบโขนโรงใน ไม่ว่าจะแสดงกลางแจ้งหรือแสดงหน้าจอก็ตาม
๕  โขนฉาก  เกิด ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อมีผู้คิดสร้างฉากประกอบเรื่องเมื่อแสดงโขนบนเวที คล้ายกับละครดึกดำบรรพ์ ส่วนวิธีแสดงดำเนินเช่นเดียวกับโขนโรงใน แต่มีการแบ่งเป็นชุดเป็นตอน เป็นฉาก และจัดฉากประกอบตามท้องเรื่อง จึงมีการตัดต่อเรื่องใหม่ไม่ให้ย้อนไปย้อนมา เพื่อสะดวกในการจัดฉาก  กรม ศิลปากรได้ทำบทเป็นชุดๆ ไว้หลายชุด เช่น ชุดปราบกากนาสูร ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ ชุดชุดนางลอย ชุดนาคบาศ ชุดพรหมาสตร์ ชุดศึกวิรุญจำบัง ชุดทำลายพิธีหุงน้ำทิพย์ ชุดสีดาลุยไฟและปราบบรรลัยกัลป์ ชุดหนุมานอาสา ชุดพระรามเดินดง ชุดพระรามครองเมือง
        การแสดงโขน โดยทั่วไปนิยมแสดงเรื่อง "รามเกียรติ์" กรมศิลปากรเคยจัดแสดงเรื่องอุณรุฑ แต่ไม่เป็นที่นิยมเท่าเรื่องรามเกียรติ์  เรื่องรามเกียรติ์ที่นำมาแสดงโขนนั้นมีหลายสำนวน ทั้งที่ประพันธ์ขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์  โดยเฉพาะบทในสมัยรัตนโกสินทร์ นิยมแสดงตามสำนวนของรัชกาลที่ ๒ ที่ กรมศิลปากรปรับปรุงเป็นชุดเป็นตอน เพื่อแสดงโขนฉาก ก็เดินเรื่องตามสำนวนของรัชกาลที่ ๒  รัชกาลที่ ๖ ก็เคยทรงพระราชนิพนธ์บทร้องและบทพากย์ไว้ถึง ๖ ชุด คือ ชุดสีดาหาย ชุดเผาลงกา ชุดพิเภกถูกขับ ชุดจองถนน ชุดประเดิมศึกลงกา และชุดนาคบาศ

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

หัวโขน


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หัวโขน



หัวโขนเป็นเครื่องสวมศีรษะประเภทหนึ่งสำหรับนักเล่นหรือผู้แสดงมหรสพอย่างหนึ่งที่เรียกว่า "โขน" ใช้สวมใส่ในการแสดงแต่ละคราว หัวโขนนี้นอกจากจะใช้สวมศีรษะหรือปิดบังหน้าผู้แสดงโขนแล้ว หัวโขนยังเป็นศิลปวัตถุประเภทประณีตศิลป์ เป็นงานศิลปะที่ได้รับการสร้างขึ้นอย่างวิจิตรประณีต ด้วยกระบวนการช่างแบบไทยประเพณีที่แสดงออกให้ประจักษ์ในภูมิปัญญาและเอกลักษณ์ในงานศิลปะแบบไทยประเพณีประเภทหนึ่ง หัวโขนจึงเป็นศิลปวัตถุ ที่มีรูปลักษณะควรแก่การดูชม และเก็บรักษาไว้เพื่อการชื่นชมในรูปสมบัติและคุณสมบัติในฐานะศิลปกรรมไทยประเพณี
วิธีการและกระบวนการทำหัวโขน โดยวิธีกาอันเป็นไปตามระเบียบวิธีแห่งการช่างทำหัวโขนตามขนบนิยมอันมีมาแต่ก่อน และยังคงถือปฎิบัติการทำหัวโขนของช่างหัวโขนบางคนต่มาจนกระทั่งปัจจุบัน อาจลำดับระเบียบวิธีของวิธีการและกระบวนการทำหัวโขน ให้ทราบดังนี้
วัสดุ:
กระดาษสา กระดาษข่อย กระดาษฟาง โดยใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง
รักน้ำเกลี้ยง และรักตีลาย
สมุกใบตองแห้ง สมุกใบลาน สมุกถ่านกะลา สมุกใบจาก โดยใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง น้ำมันยาง ปูนแดง ชันผง ทองคำเปลว กระจกสี พลอยกระจก หนังวัวแห้ง สีฝุ่น กาว และแป้งเปียก ยางมะเดื่อ ลวดขนาดต่าง ๆ

ครื่องมือ:
แม่พิมพ์หินสบู่ ไม้ตีกระยัง ไม้เสนียด ไม้คลึงรัก มีดตัดกระดาษ เพชรตัดกระจก ไม้ตับคีบกระจก กรรไกร เข็มเย็บผ้า และด้าย สิ่วหน้าต่าง ๆ และตุ๊ดตู่ เขียงไม้ แปรงทาสี พู่กันขนาดต่าง ๆ 
การเตรียมวัสดุ : 
วัสดุที่จะต้องจัดเตรียมขึ้นโดยเฉพาะสำหรับทำเป็นลวดลายต่าง ๆ ประดับตกแต่งหัวโขนแต่ละแบบ ๆ คือ "รักตีลาย" ซึ่งต้องเตรียมทำขึ้นไว้ใช้ให้พอแก่งานเสียก่อน รักตีลาย ประกอบด้วย รักน้ำเกลี้ยง ชัน น้ำมันยาง ผสมเข้าด้วยกัน เอาขึ้นตั้งไฟอ่อน ๆ เคี่ยวไปจนงวดเหนียวพอเหมาะแก่การเอาลงกดในแม่พิมพ์หินทำเป็นลวดลาย เช่น กระจัง เป็นต้น ซึ่งแข็งตัวแล้วไม่เปลี่ยนแปลง รักตีลายนี้เมื่อเคี่ยวได้ที่แล้วเอามาปั้นเป็นแท่งกลมยาวประมาณคืบ๑ ใช้ปูนแดงผสมน้ำทาหุ้มให้ทั่ว ห่อด้วยใบตองให้มิดเก็บไว้ใช้สำรองต่อไป

การเตรียมหุ่น
หุ่นในที่นี้คือ "หุ่นหัวโขน" แบบต่าง ๆ ซึ่งจะใช้เป็นต้นแบบสำหรับทำหัวโขน มีดังต่อไปนี้
หุ่นพระ-นาง อย่างปิดหน้า
หุ่นยักษ์โล้น
หุ่นยักษ์ยอด
หุ่นลิงโล้น
หุ่นลิงยอด
หุ่นชฏา-มงกุฎ
หุ่นเบ็ดเตล็ด
 เช่น หุ่นศีรษะฤาษี หุ่นศีรษะพระคเณศ เป็นต้น
หุ่นต้นแบบ ที่จะได้ใช้กระดาษปิดทับให้ทั่วแล้วถอดออกเป็น "หัวโขน" ซึ่งภายในกลวง เพื่อที่จะใช้สวมศีรษะผู้แสดง หุ่นต้นแบบนี้แต่เดิมทำด้วยดินปั้นเผาไฟให้สุก
หุ่นหัวโขนชนิดสวมศีรษะและปิดหน้ามักทำเป็นหุ่นอย่าง "รูปโกลน" มีเค้ารอย ตา จมูก ขมวดผม เป็นต้น แต่พอเป็นเค้า ๆ ไม่ต้องชัดเจนมากนัก ส่วนในหูนั้นละเอาไว้ยังไม่ต้องทำ เอาไว้ต่อเติมภายหลัง
หุ่นหัวชฎา-มงกุฎ ทำเป็นรูปทรงกระบอก ส่วนบนกลึงรัดเป็นชั้น ๆ ขึ้นไปเป็นจอมแล้วละไว้ตรงส่วนเหนือบัวแวง ซึ่งเป็นที่สวมยอดแบบต่าง ๆ เช่น ยอดชัย ยอดบัด ยอดทรงน้ำเต้า เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

พิธีกรรม

พิธีกรรม

ประเพณีความเชื่อซึ่งประชาชนทั้งหลายนับถือเรื่องรามเกียรติ์ว่าเป็นเรื่องศักดิ์สิทธเนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเทพเจ้า โดยเฉพาะพระนารายณ์ เมื่อมีการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ จึงมีพิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับการแสดงโขน
และหัวโขนที่สวมใส่ปรากฎสืบมาจนกลายเป็นระเบียบแบบแผนที่ลงตัวสืบมาจนถึงปัจจุบันพิธีไหว้ครูช่างหัวโขนหัวโขน ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญในการแสดงโขน เพราะเป็นสิ่งบอกให้รู้ว่าผู้นั้นแสดงเป็นตัวอะไรในเรื่องรามเกียรติ์ ช่างแต่โบราณจึงได้คิดประดิษฐ์หัวโขนขึ้นเพื่อให้ผู้แสดงโขนสวมใส่และงานประดิษฐ์หัวโขนนับถือเป็นศิลปะแขนงหนึ่งในงานช่าง๑๐ หมู่ ผู้ที่เป็นช่างทำหัวโขนจึงจะต้องผ่านพิธีไหว้ครูและการครอบครูมาก่อน เมื่อประสงค์จะปั้นหน้าครูที่สำคัญ เช่น พระภรตฤาษี พระพิราพ พระคเณศ เป็นต้น แม้จะเป็นผู้ที่มีฝีมือและมีความชำนาญมากเพียงใดก็ตาม ก็จะต้องได้รับการมอบหมายจากครูที่เป็นช่างทำหัวโขน พร้อมทั้งพิธีไหว้ครูโขน-ละครประจำปีก็ได้ตามแต่จะสะดวกหรือโอกาสอำนวยในการไหว้ครูช่างทำหัวโขนจะทำในวันพฤหัสบดีซึ่งถือเป็นวันครูโดยในตอนเช้าจะมีพิธีสงฆ์หรือครูกับศิษฐ์ร่วมกันทำบุญตักบาตรเพื่อุทิศส่วนกุศลให้แก่ครูผู้ล่วงลับไปแล้ว




พิธีกรรม

พิธีกรรม

ประเพณีความเชื่อซึ่งประชาชนทั้งหลายนับถือเรื่องรามเกียรติ์ว่าเป็นเรื่องศักดิ์สิทธเนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเทพเจ้า โดยเฉพาะพระนารายณ์ เมื่อมีการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ จึงมีพิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับการแสดงโขน
และหัวโขนที่สวมใส่ปรากฎสืบมาจนกลายเป็นระเบียบแบบแผนที่ลงตัวสืบมาจนถึงปัจจุบันพิธีไหว้ครูช่างหัวโขนหัวโขน ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญในการแสดงโขน เพราะเป็นสิ่งบอกให้รู้ว่าผู้นั้นแสดงเป็นตัวอะไรในเรื่องรามเกียรติ์ ช่างแต่โบราณจึงได้คิดประดิษฐ์หัวโขนขึ้นเพื่อให้ผู้แสดงโขนสวมใส่และงานประดิษฐ์หัวโขนนับถือเป็นศิลปะแขนงหนึ่งในงานช่าง๑๐ หมู่ ผู้ที่เป็นช่างทำหัวโขนจึงจะต้องผ่านพิธีไหว้ครูและการครอบครูมาก่อน เมื่อประสงค์จะปั้นหน้าครูที่สำคัญ เช่น พระภรตฤาษี พระพิราพ พระคเณศ เป็นต้น แม้จะเป็นผู้ที่มีฝีมือและมีความชำนาญมากเพียงใดก็ตาม ก็จะต้องได้รับการมอบหมายจากครูที่เป็นช่างทำหัวโขน พร้อมทั้งพิธีไหว้ครูโขน-ละครประจำปีก็ได้ตามแต่จะสะดวกหรือโอกาสอำนวยในการไหว้ครูช่างทำหัวโขนจะทำในวันพฤหัสบดีซึ่งถือเป็นวันครูโดยในตอนเช้าจะมีพิธีสงฆ์หรือครูกับศิษฐ์ร่วมกันทำบุญตักบาตรเพื่อุทิศส่วนกุศลให้แก่ครูผู้ล่วงลับไปแล้ว




พิธีกรรม

พิธีกรรม

ประเพณีความเชื่อซึ่งประชาชนทั้งหลายนับถือเรื่องรามเกียรติ์ว่าเป็นเรื่องศักดิ์สิทธเนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเทพเจ้า โดยเฉพาะพระนารายณ์ เมื่อมีการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ จึงมีพิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับการแสดงโขน
และหัวโขนที่สวมใส่ปรากฎสืบมาจนกลายเป็นระเบียบแบบแผนที่ลงตัวสืบมาจนถึงปัจจุบัน
พิธีไหว้ครูช่างหัวโขน

หัวโขน ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญในการแสดงโขน เพราะเป็นสิ่งบอกให้รู้ว่าผู้นั้นแสดงเป็นตัวอะไรในเรื่องรามเกียรติ์ ช่างแต่โบราณจึงได้คิดประดิษฐ์หัวโขนขึ้นเพื่อให้ผู้แสดงโขนสวมใส่และงานประดิษฐ์หัวโขนนับถือเป็นศิลปะแขนงหนึ่งในงานช่าง๑๐ หมู่ ผู้ที่เป็นช่างทำหัวโขนจึงจะต้องผ่านพิธีไหว้ครูและการครอบครูมาก่อน เมื่อประสงค์จะปั้นหน้าครูที่สำคัญ เช่น พระภรตฤาษี พระพิราพ พระคเณศ เป็นต้น แม้จะเป็นผู้ที่มีฝีมือและมีความชำนาญมากเพียงใดก็ตาม ก็จะต้องได้รับการมอบหมายจากครูที่เป็นช่างทำหัวโขน พร้อมทั้งพิธีไหว้ครูโขน-ละครประจำปีก็ได้ตามแต่จะสะดวกหรือโอกาสอำนวยในการไหว้ครูช่างทำหัวโขนจะทำในวันพฤหัสบดีซึ่งถือเป็นวันครูโดยในตอนเช้าจะมีพิธีสงฆ์หรือครูกับศิษฐ์ร่วมกันทำบุญตักบาตรเพื่อุทิศส่วนกุศลให้แก่ครูผู้ล่วงลับไปแล้ว




วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ประเพณีและความเชื่อของหัวโขน

ประเพณีและความเชื่อของหัวโขน
โขนเป็นนาฏศิลปที่มีธรรมเนียมการปฏิบัติในการแสดงหลายอย่าง บางอย่างก็ยังคงใช้กันอยู่ บางอย่างก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยการออกโรงแสดงก็ต้องตั้งเครื่องให้ครบ ในพิธีต้องมีศีรษะโขนตั้งประดิษฐานเป็นเครื่องสักการะ ก่อนแต่งตัวต้องมีการไหว้ครู เมื่อแต่งเสร็จก่อนจะสวมหัวโขนหรือชฎาก็ต้องไหว้ครู การปลูกโรงโขน ต้องมีพิธีเซ่นบวงสรวงบอกเจ้าที่ เจ้าทางให้รับทราบเพื่อปัดเสนียดรังควาน ด้วยถือว่าการแสดงหลายอย่างที่แข่งขันหรือประชันกัน มักมีการใช้ไสยศาสตร์กลั่นแกล้งฝ่ายตรงข้ามให้เสียเปรียบ จึงต้องมีพิธีถอนอาถรรพ์กันก่อน เมื่อเลิกการ
แสดงแล้ว ผู้แสดงทุกคนจะต้องไหว้เคารพครูอีกครั้ง แล้วเข้าหลังโรงขอขมาลาโทษซึ่งกันและกันไปตาม
อาวุโส เพราะอาจมีการละเมิดล่วงเกินพลาดพลั้งไปในระหว่างการแสดง นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามสำคัญอีกหลายประการ เช่น ห้ามนำอาวุธที่ใช้ในการแสดงมาเล่นนอกเวลาแสดง ห้ามเดินข้ามอาวุธ ห้ามเล่นไม้ตะขาบ (หมายเหตุ : ไม้ที่ตีเพื่อให้เกิดเสียงดังด้วยการตีเพียงเบาๆ มักใช้ในการแสดงของตัวตลก) การเก็บหรือวางเครื่องโขนทั้งเวลาแสดง และเวลาเก็บ ต้องแบ่งเป็นสัดส่วน อาวุธต่างๆต้องเก็บในที่อันเหมาะสม หัวโขนยักษ์ ลิง ก็ต้องเก็บกันไว้คนละด้านโดยมีหัวพระฤาษีวางคั่นกลาง
ความเชื่อเกี่ยวกับการเจาะและแก้ไขตาโขน
โดยปกติเมื่อช่างทำหัวโขนเสร็จแล้ว ช่างจะเจาะตาหัวโขนให้ ซึ่งหากเป็นหัวโขนที่ทำใช้เฉพาะตัวผู้แสดง ช่างผู้สร้างหัวโขนจะมีวิธีการวัดและเจาะตาให้พอดี สามารถมองเห็นได้ชัดเจนแต่ถ้าเป็นหัวโขนที่ใช้ทั่ว ๆ ไปช่างอาจจะเจาะตาไว้อย่างกลาง ซึ่งเวลาผู้แสดงนำมาสวมใส่อาจจะมองเห็นไม่ถนัด แต่โบราณถือกันว่าห้ามผู้แสดงเจาะหรือแก้ไขตาโขนเพราะอาจเกิดภัยพิบัติทำให้ตาบอดได้ เนื่องจากผ่านพิธีเบิกพระเนตรมาแล้ว ต้องให้ช่างที่ทำหัวโขนเป็นผู้เจาะแก้ไขตาโขน ความเชื่อถือนี้อาจะเป็นเพราะว่า หัวโขนส่วนใหญ่ช่างจะใช้เปลือกหอยมุกมาตกแต่งทำเป็นรูปตาของหัวโขน หากผู้แสดงเจาะตาเองอาจจะทำให้หัวโขนเกิดความเสียหายได้ จึงมีข้อห้ามไว้เพื่อให้ช่างผู้ชำนาญเป็นคนทำเอง และถ้าหากมีแมลงสาบมาแทะหรือกันกินสีของหัวโขนโดยเฉพาะส่วนที่เป็นตาของหัวโขน โบราณเรียกว่าต้องธรณีสาร ห้ามนำหัวโขนนั้นไปใช้สวมใส่แสดง ต้องรีบทำน้ำมนต์ธรณีสารมาประพรมแก้อุบาทว์ แล้วนำหัวโขนนั้นไปให้ช่างซ่อมแซมโดยด่วน
ความเชื่อเกี่ยวกับพิธีครอบ
ในการแสดงโขนละครผู้ฝึกหัดจนสามารถออกแสดงได้แล้วจะต้องผ่านพิธีครอบ โดยในพิธีไหว้ครูโขน-ละครประจำปี ครูจะต้องทำพิธีครอบให้กับศิษย์ หากยังไม่ผ่านพิธีครอบก็จะไม่ออกแสดงโดยเด็ดขาด เพราะหากเกิดเหตุอะไรขึ้นถือว่าผิดครูหรือเป็นเพราะแรงครูในพิธีครอบครูจะนำหัวโขนหน้าพระภรตฤาษี หน้าพระพิราพ และเทริดมโนห์รา ครอบให้ศิษย์ ครูที่จะทำพิธีครอบให้ศิษย์นั้นจะต้องได้รับมอบหมายจากครูเดิมเสียก่อน และจะทำพิธีเองได้ก็ต่อเมือครูเดิมเสียชีวิตไปแล้ว หรือได้รับมอบหมายจากครูเดิมให้ทำครอบแทนเป็นคราว ๆ ไป หากขาดตัวครูที่จะทำการครอบ หรือจะทำพิธีต่อหน้าพาทย์เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง คือเพลงองค์พระพิราพ จะต้องกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงเป็นประธานพระราชทานการครอบดังเช่นในรัชกาลปัจจุบันพิธีครอบครูนี้ถือเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ บริสุทธิ์ และสะอาด ในขณะที่ทำพิธีครอบผู้เป็นศิษย์จะต้องมีความสำรวม แสดงความเคารพ หากแสดงอาการลบหลู่ หรือไม่เชื่อถืออาจเป็นบ้าหรือเสียสติ ซึ่งโบราณเรียกว่า ต้องครู เพชรฉลูกัน (วิษณุกรรม) หรือผิดครู ต้องแรงครู
ความเชื่อเกี่ยวกับการเก็บหรือการตั้งหัวโขน
ทั้งในเวลาแสดงและเวลาเก็บรักษาในคลังเก็บเครื่องโขน นิยมแบ่งเก็บเป็นพวกเป็นส่วนสัดไว้ในที่ที่สมควร ไม่ทิ้งเรี่ยราด หัวโขนหน้ายักษ์ หน้าลิง จะต้องเก็บกันไว้คนละด้านไม่ให้ปะปนกัน มีหัวโขนหน้าฤาษีคั่นระหว่างกลาง เคยมีเรื่องประหลาดเกิดขึ้นที่วังจันทรเกษมอันเป็นที่ตั้เงกรมมหรสพเดิม ในรัชกาลที่๖ และเป็นบริเวณกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบันนี้ ในห้องคลังเครื่องโขนมีตู้กระจกเป็นที่เก็บหัวโขนแบ่งเป็นสองฝ่ายตามแบบอย่าง คราวหนึ่งมีผู้อุตริยกหัวโขนหน้าพระฤาษีซึ่งคั่นไว้ระหว่างหัวโขนฝ่ายยักษ์กับฝ่ายลิงไปไว้ที่อื่น จะด้วยความเจตนาหรือความหลงลืมก็ไม่อาจทราบ วันรุ่งขึ้นปรากฎว่าบานกระจกตู้เก็บหัวโขนแตกละเอียดเกือบหมด หัวโขนบางหัวตกลงมาฉีกขาด กระจัดกระจายบุบสลาย จอนหูหัก เขี้ยวยักษ์หลุด แต่โดยมากจะเป็นหน้าเสนายักษ์กับหน้าลิงสิบแปดมงกุฎ และส่วนมากหัวโขนหน้าลิงจะชำรุดมากกว่าหัวโขนหน้าลิง
นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามอีกข้อหนึ่ง คือ ห้ามไม่ให้นำหัวโขนตลอดจนเครื่องแต่งตัวโขนมาเก็บรักษาไว้ที่บ้าน ต้องพาไปฝากไว้ที่วัด เพราะถือว่าเป็นของร้อน ห้ามแม้กระทั่งรูปวาดของตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์นำมาไว้ในบ้าน แต่ปัจจุบันข้อห้ามเหล่านี้แทบไม่หลงเหลืออยู่แล้ว เพราะทั้งช่างผู้ประดิษฐ์หัวโขนก็สร้างหัวโขนเก็บไว้ที่บ้าน การทำจำหน่ายก็แพร่หลาย นักแสดงต่าง ๆก็นิยมเก็บเครื่องแต่งกายไว้ที่บ้านเพื่อความสะดวก ฉะนั้นการเก็บหัวโขนไว้ที่บ้านถ้าผู้เก็บรู้จักที่จะเก็บไว้ที่เหมาะสม และผู้ที่เป็นเจ้าของรู้จักปฎิบัติให้ดีก็ให้คุณมากกว่าโทษ

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ลักษณะบทโขน

ลักษณะบทโขน ประกอบด้วย
๑   บทร้อง ซึ่งบรรจุเพลงไว้ตามอารมณ์ของเรื่อง บทร้องแต่งเป็นกลอนบทละครเป็นส่วนใหญ่ อาจมีคำประพันธ์ชนิดอื่นบ้างแต่ไม่นิยม บทร้องนี้จะมีเฉพาะโขนโรงในและโขนฉากเท่านั้น
๒    บทพากย์ การแสดงโขนโดยทั่วไปจะเดินเรื่องด้วยบทพากย์ ซึ่งแต่งเป็นคำประพันธ์ชนิด
กาพย์ยานี ๑๖ หรือ กาพย์ยานี ๑๑ บทมีชื่อเรียกต่าง ๆ ดังนี้
    - พากย์เมือง หรือพากย์พลับพลา คือบทตัวเอก เช่น ทศกัณฐ หรือพระรามประทับในปราสาท
      -พากย์รถ เป็นบทชมพาหนะและกระบวนทัพ ไม่ว่าจะเป็นรถ ม้า ช้าง หรืออื่นใดก็ได้ ตลอดจนชมไพร่พลด้วย
      - พากย์โอ้ เป็นบทโศกเศร้า รำพัน คร่ำครวญ ซึ่งตอนต้นเป็นพากย์ แต่ตอนท้ายเป็นทำนองร้องเพลงโอ้ปี่ ให้ปี่พาทย์รับ
      - พากย์ชมดงเป็นบทตอนชมป่าเขาลำเนาไพรทำนองตอนต้นเป็นทำนองร้องเพลงชมดงในตอนท้ายเป็นทำนองพากย์ธรรมด า
      -  พากย์บรรยาย เป็นบทขยายความเป็นมา ความเป็นไป หรือพากย์รำพึงรำพันใดๆ
       - พากย์เบ็ดเตล็ด เป็นบทที่ใช้ในโอกาสทั่วๆ ไป เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่เข้าประเภทใดร
๓    บทเจรจา เป็นบทกวีที่แต่งเป็น ร่ายยาวส่งและรับสัมผัสกันไปเรื่อยๆ ใช้ได้ทุกโอกาส สมัยโบราณเป็นบทที่คิดขึ้นสดๆ เป็นความสามารถของคนพากย์ คนเจรจา ที่จะใช้ปฏิภาณคิดขึ้นโดยปัจจุบัน ให้ได้ถ้อยคำสละสลวย มีสัมผัสแนบเนียน และได้เนื้อถ้อยกระทงความถูกต้องตามเนื้อเรื่อง ผู้พากย์เจรจาที่เก่งๆ ยังสามารถใช้ถ้อยคำคมคาย เหน็บแนมเสียดสี บางครั้งก็เผ็ดร้อน โต้ตอบกันน่าฟังมาก ปัจจุบันนี้ บทเจรจาได้แต่งไว้เรียบร้อยแล้ว ผู้พากย์เจรจาก็ว่าตามบทให้เกิดอารมณ์คล้อยตามถ้อยคำ โดยใช้เสียงและลีลาในการเจรจา ผู้พากย์และเจรจาต้องทำสุ้มเสียงให้เหมาะกับตัวโขน และใส่ความรู้สึกให้เหมาะกับอารมณ์ในเรื่อง
    คนพากย์และเจรจานี้ใช้ผู้ชาย คนหนึ่งต้องทำหน้าที่ทั้งพากย์และเจรจา และต้องมีไม่น้อยกว่า ๒ คน จะได้โต้ตอบกันทันท่วงที เมื่อพากย์หรือเจรจาจบกระบวนความแล้ว ต้องการจะให้ปี่พาทย์ทำเพลงอะไรก็ร้องบอกไป เรียกว่า "บอกหน้าพาทย์" และถ้าการแสดงโขนนั้นมีขับร้อง คนพากย์และเจรจายังจะต้องทำหน้าที่บอกบทด้วย การบอกบทจะต้องบอกให้ถูกจังหวะ




วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2559



เรื่องที่ใช้แสดงโขน


เรื่องที่ใช้สำหรับเล่นโขนตามที่รู้จักกันแพร่หลายมาจนปัจจุบันนี้คือ "รามเกียรติ์" ซึ่งมีหลายสำนวนด้วยกัน ทั้งไทย ชวา เขมร และอินเดียซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของเรื่อง เรื่องรามเกียรติ์หรือรามายณะนี้แต่งโดยพระฤาษีวาลมิกิ เมื่อหลายพันปีก่อน ชาวอินเดียจะมีความเคารพนับถือมาแต่สมัยโบราณกันว่าผู้ใดได้อ่านหรือฟังเรื่อง “รามเกียรติ์” ก็สามารถล้างบาปได้          เรื่องรามเกียรติ์หรือรามายณะเป็นเรื่องราวของพระนารายณ์ที่อวตารปางหนึ่งเป็น “พระราม” เพื่อคอยปราบอสูรที่คอยเบียดเบียนเหล่าเทวดา และมนุษย์ให้ได้รับความเดือดร้อนอยู่เสมอ สงครามระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์ซึ่งเป็นพญายักษ์ครองกรุงลงกา เกิดจากทศกัณฐ์ไปลักพานางสีดามเหสีของพระรามมาเพื่อเป็นชายาของตนเอง พระรามและพระอนุชาคือพระลักษณ์จึงได้ออกติดตาม จนกระทั่งได้สองพญาวานรคือพญาสุครีพเจ้าเมืองขีดขิน และท้าวมหาชมพูเจ้าเมืองชมพูมาเป็นบริวาร โดยมีหนุมานเป็นทหารเอก กองทัพของพระรามจึงจองถนนข้ามทะเลไปสร้างพลับพลา และตั้งค่ายประชิดกรุงลงกาเพื่อทำศึกกับทศกัณฐ์ จนกระทั่งฝ่ายพระรามได้รับชัยชนะ
          รามเกียรติ์ฉบับของไทยได้มีการแต่งเป็นตอนๆหรือทั้งเรื่อง เพื่อใช้สำหรับการแสดงโขน หนังใหญ่ และละครนั้น มีหลักฐานปรากฏว่าได้แต่งขึ้นในยุคสมัยที่แตกต่างกันดังน
ี้
บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงศรีอยุธยา 
๑. รามเกียรติ์คำฉันท์ 
รามเกียรติ์สำนวนนี้มีกล่าวไว้ในหนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดี ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เข้าใจว่าพระโหราธิบดีคงจะหยิบยกมาจากคำพากย์ของเก่าที่แต่งไว้สำหรับเล่นโขนหรือเล่นหนัง ซึ่งแต่งไว้เป็นเรื่องราวแต่ได้สูญหายไปแล้ว คงเหลือที่นำมาเป็นตัวอย่างในหนังสือจินดามณี ๓-๔ บทเท่านั้น
๒. รามเกียรติ์คำพากย์ รามเกียรติ์สำนวนนี้หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้แบ่งตีพิมพ์ไว้เป็นภาค โดยมีเนื้อเรื่องติดต่อกันไปตั้งแต่ภาค ๒ ตอน “สีดาหาย” ไปจนถึงภาค ๙ ตอน ”กุมภกรรณล้ม” เข้าใจว่าคำพากย์เหล่านี้แต่เดิมใช้เล่นหนัง ต่อมาภายหลังได้มีผู้นำมาใช้เล่นโขนด้วย
๓. รามเกียรติ์บทละครครั้งกรุงเก่า สำนวนนี้กล่าวความตั้งแต่ตอน “พระรามประชุมพล” จนถึง “องคตสื่อสาร” บทละครนี้ไม่เคยตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับรามเกียรติ์บทละครในรัชกาลที่๑ จะเห็นว่ามีเนื้อความไม่ตรงกันในบางแห่งบางตอน และถ้อยคำในบทละครก็ดูไม่เหมาะสม จึงเข้าใจว่าน่าจะเป็นบทละครรามเกียรติ์ฉบับเชลยศักดิ์ ที่เจ้าของละครคนใดคนหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาคัดลอกไว้
บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงธนบุรี
รามเกียรติ์สำนวนนี้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระราชนิพนธ์ไว้เพียง ๔ ตอน โดยทรงพระราชนิพนธ์ไม่เรียงตามลำดับเรื่อง คือ ตอนพระมงกุฎ หนุมานเกี้ยวนางวานรินจนถึงท้าวมาลีวราชเสด็จมา ท้าวมาลีวราชว่าความจนถึงทศกัณฐ์เข้าเมือง และตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด และพระลักษณ์ต้องหอกกบิลพัทจนถึงหนุมานผูกผมนางมณโฑกับทศกัณฐบทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
๑. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ ๑ 
ในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงมีพระราชประสงค์จะรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ที่กระจัดกระจายให้รวมเป็นเรื่องเดียวกัน จึงมีพระบรมราชโองการให้ประชุมบทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในรัชกาลที่๑ มีเรื่องราวยืดยาวติดต่อกันไป นับเป็นวรรณคดีไทยเรื่องเดียวที่ยาวที่สุดในวรรณกรรมไทย เพราะต้องเขียนในสมุดไทยถึง ๑๑๗ เล่มสมุดไทย
๒. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่๒ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่๒ ทรงเห็นว่าบทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในรัชกาลที่๑ เยิ่นเย้อเกินไปไม่เหมาะสำหรับนำมาเล่นโขน พระองค์จึงทรงคัดเลือกเอาเรื่องรามเกียรติ์บางตอน คือตั้งแต่หนุมานถวายแหวนไปจนถึงทศกัณฐ์ล้ม มาแต่งขึ้นใหม่สำหรับเล่นโขนหลวงเป็นหนังสือ ๓๖ เล่มสมุดไทย
๓. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่๔ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๔ ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นอีกสำนวนหนึ่งคือ ตอน "พระรามเดินดง" เป็นหนังสือ๔ เล่มสมุดไทย และทรงพระราชนิพนธ์แปลงบทละครเบิกโรงเรื่อง "นารายณ์ปราบนนทุก" กับเรื่อง "พระรามเข้าสวนพระพิราพ" ขึ้นอีก๒ ตอน
๔. บทร้อง และบทพากย์รามเกียรติ์ในรัชกาลที่๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๖ ทรงค้นคว้าศึกษาที่มาของเรื่องรามเกียรติ์จากคัมภีร์รามายณะของฤาษีวาลมิกิ แล้วทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ “บ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์” ขึ้น และได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อง และบทพากย์สำหรับเล่นโขนขึ้นอีก๖ ชุด คือ ชุดสีดาหาย ชุดเผาลงกา ชุดพิเภกถูกขับ ชุดจองถนน ชุดประเดิมศึกลงกา และชุดนาคบาศ


http://student.swu.ac.th/sc501010561/page02.html

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เครื่องแต่งกาย


เครื่องแต่งกาย






๑ ตัวพระ สวมเสื้อ แขนยาวปักดิ้น และเลื่อม มีอินทรธนูที่ไหล่ ส่วนล่างสวมสนับเพลา
(กางเกง)ไว้ข้างในนุ่งผ้ายกจีบโจงไว้หางหงส์ทับสนับเพลาด้านหน้ามีชายไหวชายแครง
ห้อยอยู่ศีรษะสวมชฎา สวมเครื่องประดับต่างๆ เช่น กรองคอ ทับทรวง ตาบทิศ ปั้นเหน่ง ทองกร กำไลเท้าเป็นต้น แต่เดิมตัวพระจะสวมหัวโขน แต่ภายหลังไม่นิยม เพียงแต่แต่ง
หน้าและสวมชฎาแบบละครในเท่านั้น
ตัวพระ ผู้แสดงที่เป็นมนุษย์ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย และเทวดา ซึ่งได้แก่ พระราม พระลักษณ์ พระพรตพระสัตรุต พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหมในปัจจุบันนี้มักสวมเพียงชฎา
ไม่ได้สวมหัวโขนปิดหน้าดังสมัยโบราณ เพียงแต่ชฎาของเทพเจ้าต่างๆนั้นจะ
สามารถสังเกตได้จากลักษณะของชฎานั้นๆ เช่น พระพรหมจะสวมชฏาที่มีพระพักตร์
อยู่ ๔ ด้าน พระอินทร์จะสวมชฎายอดเดินหนเป็นต้น ผู้ที่จะหัดแสดงเป็นตัวพระ จะคัดเลือก
ผู้มีลักษณะใบหน้าสวย จมูกเป็นสัน ลำคอโปร่งระหงไหล่ลาดงาม ช่วงอกใหญ่ลำตัว
เรียวเอวเล็ก ตามแบบชายงามในวรรณคดีไทย





๒. ตัวนาง สวมเสื้อแขนสั้นเป็นชั้นในแล้วห่มสไบทับ ทิ้งชายไปด้านหลังยาวลงไปถึง
น่อง ส่วนล่างนุ่งผ้ายกจีบหน้า ศีรษะสวมมงกุฎ รัดเกล้า หรือกระบังหน้าตามแต่ฐานะ
ของตัวละคร ตามตัวสวมเครื่องประดับต่างๆ เช่นกรองคอ สังวาล พาหุรัด เป็นต้น
แต่เดิมตัวนางที่เป็นตัวยักษ์เช่น นางสำมนักขา นางกากนาสูร จะสวมหัวโขน แต่ภายหลังมีการแต่งหน้าไปตามลักษณะของตัวละครนั้นๆโดยไม่สวมหัวโขนบ้าง
ตัวนาง ตัวละครตัวนางในเรื่องรามเกียรติ์นั้นมีทั้งที่เป็นมนุษย์ ปลา นาค แต่ละตัวจะบอกชาติกำเนิดด้วยการสวมศีรษะ และหางเป็นสัญลักษณ์ ตัวนางในโขน และละครรำนั้นมี ๒ประเภท คือนางกษัตริย์ ซึ่งมีลีลาและอิริยบถแสดงถึง
ความนุ่มนวลแลดูเป็นผู้ดีกับนางตลาดซึ่งจะมีบทบาทท่าทางกระฉับกระเฉง
ว่องไวสะบัดสะบิ้งผู้ที่จะรับบทนางตลาดได้จะต้อง เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ
ทางนาฏศิลป์มากกว่าผู้ที่แสดงเป็นนางกษัตริย์ ผู้ที่จะหัดแสดงเป็นตัวนาง
จะคัดเลือกผู้ที่มีลักษณะคล้ายตัวพระ แต่ต้องมีใบหน้างาม กิริยาท่าทางนุ่มนวลอย่าง
ผู้หญิง



๓. ตัวยักษ์เครื่องแต่งกายส่วนใหญ่คล้ายตัวพระ จะแตกต่างกันที่การนุ่งผ้า คือตัวยักษ์จะนุ่งผ้าไม่มีหางหงส์ แต่มีผ้าปิดก้นลงมาจากเอวส่วนศีรษะสวม
หัวโขนตามลักษณะของตัวละคร ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยชนิด
ตัวยักษ์ ตัวยักษ์จะต้องมีลักษณะสูง วงเหลี่ยมตลอดจนการทรงตัวต้องดูแข็งแรง บึกบึน ลีลาท่าทางมีสง่า ซึ่งต้องได้รับการฝึกหัดมาอย่างดีเพราะถือกันว่าหัดยากกว่าตัวอื่นๆ
ผู้ที่จะหัดแสดงเป็นตัวยักษ์ คัดเลือกผู้ที่มีลักษณะคล้ายตัวพระ แต่ไม่ต้องเลือกหน้าตา รูปร่างต้องใหญ่ และท่าทางแข็งแรง




๔. ตัวลิง เครื่องแต่งกายส่วนใหญ่คล้ายตัวยักษ์ แต่มีหางลิงห้อยอยู่ใต้ผ้าปิดก้นอีกที สวมเสื้อตามสีประจำตัวในเรื่องรามเกียรติ์ ไม่มีอินทรธนู ตัวเสื้อปักลายขดเป็นวง สมมุติว่าเป็นขน
ตามตัวลิง ส่วนศีรษะสวมหัวโขนตามลักษณะของตัวละคร ซึ่งมีอยู่ประมาณ ๔๐ ชนิด
ตัวลิง ตัวลิงจะต้องมีท่าทางลุกลี้ลุกลน กระโดดโลดเต้นตามลักษณะธรรมชาติของลิง โดยเฉพาะตัวหนุมานทหารเอกซึ่งจะต้องได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดี ผู้ที่จะหัดแสดงเป็น
ตัวลิง คัดเลือกผู้ที่มีลักษณะป้อมๆ ท่าทางหลุกหลิกคล่องแคล่วว่องไวผู้ที่จะหัดโขนนั้น
มักเป็นผู้ชายตามธรรมเนียมมาแต่โบราณ โดยเริ่มหัดกันตั้งแต่อายุ ๘ -๑๒ ขวบ

ในชั้นต้นคุณครูผู้ใหญ่จะเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกผู้สมควรหัดเป็นตัวแสดงต่างๆเมื่อผู้ที่หัดเป็น
ตัวเหล่านี้ไปแล้ว ครูก็จะพิจารณาท่าทีหน่วยก้านเพื่อคัดอีกชั้นหนึ่งเช่น พวกหัดตัวพระคัด
ให้เป็นพระใหญ่หรือพระน้อย พวกหัดตัวนางคัดให้เป็นนางเอกหรือนางรองพวกหัดตัวยักษ์
ให้เป็นยักษ์ใหญ่ ยักษ์เล็กหรือเสนายักษ์และพวกหัดตัวลิงจะให้เป็นพญาวานรหรือเหล่าวานร
สิบแปดมงกุฎเป็นต้นหลังจากครูคัดเลือกศิษย์แล้ว เมื่อถึงวันพฤหัสบดีซึ่งถือว่าเป็นวันครู
ก็จะทำพิธีไหว้ครู และรับเข้าเป็นศิษย์ โดยศิษย์ต้องมีดอกไม้ธูปเทียนเป็นเครื่องสักการะ
แก่ครเมื่อครูรับการสักการะแล้วก็จะทำความเคารพถึงครูบาอาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้ว
อีกทีหนึ่งแล้วจึงจับท่าให้ศิษย์เป็นปฐมฤกษ์ ต่อจากนั้นจึงให้ศิษย์ไปฝึกหัดกับครูผู้ช่วยสอน
แต่ละฝ่ายตามตัวโขน

ประเภทของโขน


ประเภทของโขน


 ศิลปะการแสดงโขนแต่เดิมมีอยู่ ๕ ประเภท คือโขนกลางแปลง โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว
โขนโรงใน โขนหน้าจอ และโขนฉาก ปัจจุบันนิยมแสดงเพียง ๓ ประเภท คือ โขนกลางแปลงโขนหน้าจอ
และโขนฉาก
สำหรับโขนโรงนอกหรือโขนนั่งราวที่ไม่ได้จัดแสดงเนื่องจากเป็นการแสดงโขนที่มีแต่บทพากย์
เจรจา ไม่มีบทร้อง และใช้ราวไม้กระบอกแทนเตียงสำหรับนั่ง ส่วนโขนโรงในก็เป็นศิลปะที่โขนหน้าจอนำไป
แสดงแล้ว
     



โขนกลางแปลง
เป็นการแสดงโขนบนพื้นดินกลางสนามหญ้า
 ไม่ต้องปลูกโรงให้แสดง ใช้ฉากตามธรรมชาติ เช่น
ต้นไม้ เป็นต้น โขนกลางแปลงมีกำเนิดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่เดิมการแสดงดำเนินเรื่องด้วยการพากย์เจรจาแต่ในสมัยปัจจุบันนี้ได้นำเอาศิลปะการแสดงโขนโรงในที่มี
การขับร้องและจับระบำรำฟ้อนเข้าไปแสดงในโขนกลางแปลง ทำให้ศิลปะการแสดงโขนกลางแปลงเป็นแบบ
เดียวกับโขนโรงใน เพียงแต่สถานที่แสดงเท่านั้นที่ผิดกันคือ โขนโรงในแสดงบนเวที ส่วนโขนกลางแปลงแสดง
กลางสนามหญ้า
ดนตรีประกอบการแสดงใช้วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่หรือเครื่องคู่ก็ได้สุดแท้แต่ฐานะของงานในสมัยโบราณวง  พาทย์จะต้องมีอย่างน้อย ๒ วงผลัดกันบรรเลงเนื่องจากสนามกว้างแสดงไปใกลปี่พาทย์วงใด
ปี่พาทย์วงนั้นก็บรรเลงให้ตัวโขนแสดง ปัจจุบันมี เครื่องขยายเสียงได้ยินไปทั่วบริเวณ จึงมีวงปี่พาทย์เพียงวงเดียว
ลักษณะเครื่องแต่งกายของตัวโขน จะแต่งกายแบบยืนเครื่องพระ นาง ยักษ์ และลิง
 ลักษณะท่ารำ มีทั้งการเต้นและการร่ายรำอย่างการแสดงละครในความยาวของการแสดง สามารถแสดงได้ตั้งแต่ครึ่งชั่วโมงไปจนถึง ๔ ชั่วโมง
    







โขนหน้าจอ
เป็นการแสดงโขนที่แสดงอยู่บนเวทีหน้าจอผ้าขาว
 ซึ่งแต่เดิมเป็นจอสำหรับแสดงหนังใหญ่ ต่อมามีการแสดงโขนสลับกับการแสดงหนังใหญ่ในบางตอน และในที่สุดก็เป็นการแสดงโขนเพียง
อย่างเดียว จอผ้าขาวที่เคยใช้แสดงหนังใหญ่ก็ยังคงอยู่ในลักษณะเดิมเพียง
แต่เจาะช่องทั้งสองข้างทำเป็นประตูสำหรับตัวโขนเข้าออกทางด้านขวามือของเวทีจากขอบประตูเขียน
ภาพ
เป็นพลับพลาพระราม ทางด้านซ้ายมือของเวทีเขียนภาพเป็นปราสาทราชวัง สมมติเป็นกรุงลงกา
และเมืองยักษ์ การแสดงดำเนินเรื่องโดยการพากย์เจรจา ในสมัยต่อมาเพิ่มการขับร้องตามศิลปะ
การแสดงโขนโรงในเข้าไปด้วย
ดนตรีประกอบการแสดง ใช้วงปี่พาทย์เครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่ สุดแท้แต่ฐานะของงาน วงดนตรีจะตั้งอยู่บนเวทียกพื้นต่ำกว่าเวทีโขนทางด้านหลังจอโขน
ลักษณะเครื่องแต่งกายผู้แสดงโขนหน้าจอแต่งกายยืนเครื่องพระ นาง ยักษ์ และลิง เช่นเดียวกับการแสดงโขนกลางแปลงลักษณะท่ารำ มีทั้งการเต้นของฝ่ายยักษ์ ฝ่ายลิง และการร่ายรำ ตามแบบละครในของฝ่ายพระและฝ่ายนางความยาวของการแสดง เช่นเดียวกับการแสดงโขนกลางแปลง
คือ แสดงได้ตั้งแต่เวลาครึ่งชั่วโมงไปจนถึง ๔ ชั่วโมง
    






โขนฉาก
การแสดงโขนโรงในที่แสดงโดยมีม่านกั้นทางด้านหลังอย่างการแสดงละครในและดำเนินเรื่องด้วย
การพากย์เจรจา
และขับร้องนั้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โขนโรงในจึงวิวัฒนาการมาเป็น
การแสดงโขนฉาก
 โดยมีผู้คิดสร้างฉากประกอบการแสดงโขน เช่นเดียวกับการแสดงละครดึกดำบรรพ์ ศิลปะการแสดงโขนฉากเช่นเดียวกับโขนโรงในทุกประการ แต่การแสดงโขนฉากจะแบ่งเรื่องราวที่แสดง
ให้เหมาะกับฉากตามท้องเรื่อง บทประกอบการแสดงโขนฉากจะจัดทำไว้
อย่างสมบูรณ์ ผู้พากย์เจรจาและขับร้องจะพากย์เจรจา
และขับร้องไปตามบทที่แต่งไว้
ดนตรีประกอบการแสดง ใช้ปี่พาทย์เครื่องใหญ่ หรือปี่พาทย์เครื่องคู่
 ลักษณะเครื่องแต่งกาย เช่นเดียวกับโขนกลางแปลงและโขนหน้าจอ
ลักษณะท่ารำ เป็นการเต้นของฝ่ายยักษ์ ฝ่ายลิง ส่วนฝ่ายพระและฝ่ายนางรำแบบละครในความยาวของการแสดง ตั้งแต่ครึ่งชั่วโมงจนถึง ๒ ชั่วโมงครึ่ง



http://student.swu.ac.th/sc501010561/page.html

วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559

นาฏศิลปโขน

                                                            นางสาวนันธิดา  สุวรรณรัตน์ 
                                             ระดับปริญญาตรีปีที่ 3 รหัสนักศึกษา 3095571004



โขน   

ประวัติความเป็นมา

โขนจัดเป็นนาฏกรรมที่มีความเป็นศิลปะเฉพาะของตนเอง ไม่ปรากฏชัดแน่นอนว่าคำว่า “โขน” ปรากฏขึ้นในสมัยใด แต่มีการเอ่ยถึงในวรรณคดีไทยเรื่องลิลิตพระลอที่กล่าวถึงโขนในงานแสดงมหรสพ ระหว่างงานพระศพของพระลอ พระเพื่อนและพระแพงว่า “ขยายโรงโขนโรงรำ ทำระทาราวเทียน”โดยมีข้อสันนิษฐานว่าคำว่าโขนนั้น มีที่มาจากคำและความหมายในภาษาต่าง ๆ ดังนี้

คำว่าโขนในภาษาเบงคาลี ซึ่งปรากฏคำว่า “โขละ” หรือ “โขล” (บางครั้งเขียนด้วยคำว่า “โขฬะ”)ที่เป็นชื่อเรียกของเครื่องดนตรีประเภทหนังชนิดหนึ่งของฮินดู ลักษณะและรูปร่างคล้ายคลึงกับตะโพนของไทย ไม่มีขาตั้ง ทำด้วยดิน ไม่มีสายสำหรับถ่วงเสียง มีเสียงดังค่อนข้างมาก จัดเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมในแคว้นเบงกอล ประเทศอินเดีย ใช้สำหรับประกอบการละเล่นชนิดหนึ่ง เรียกว่ายาตราหรือละครเร่ที่คล้ายคลึงกับละครชาตรี โดยสันนิษฐานว่าเครื่องดนตรีชนิดนี้ เคยถูกนำมาใช้ประกอบการเล่นนาฏกรรมชนิดหนึ่ง จึงเรียกว่าโขลตามชื่อของเครื่องดนตรี